วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

-๐พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และ อื่นๆ๐-

พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
สวัสดีอีกรอบ เมื่อกี๊อัพเดทเรื่อง วันเข้าพรรษา ไปแล้ว มาดูกันว่า พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท คืออะไร?

ความรู้ที่ได้จากหัวข้อนี้
- รู้ความหมายของนิกาย
- รู้เกี่ยวกับประวัติพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท

นิกาย คืออะไร?
นิกาย คือ คำที่ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวช
ในศาสนาเดียวกันที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เป็นต้น

เกี่ยวกับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท

พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า นิกายเถรวาทได้รับการนับถือเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังคลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดน กัมพูชา มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของ ประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายไทย และสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน

สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด

นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (มหายาน)

พุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศไทยยังได้แบ่งเป็นนิกายย่อยอีก 2 นิกาย คือ มหานิกาย และ ธรรมยุตินิกาย

มหานิกาย คืออะไร?

มหานิกาย เป็นคำเรียกนิกาย หรือคณะของพระสงฆ์ไทยสายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่ง เป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นฝ่ายคันถธุระ

. . ว่าแต่ คันถธุระ คืออะไร?

คันถธุระ คือ งานที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้ภิกษุปฏิบัติอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ
คันถธุระ คือ งานเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยการเล่าเรียนพระพุทธพจน์บทใดบทหนึ่งหรือพระไตรปิฎกทั้งหมดตามความสามารถแห่งสติปัญญาของตน แล้วท่องบ่น ทรงจำ สอนกันบอกกันต่อ ๆ ไป เพื่อรักษาพระพุทธพจน์ไว้ รวมถึงการแนะนำสั่งสอน เผยแพร่พระพุทธพจน์แก่บุคคลทั่วไป ตลอดทั้งการจัดทำและการรักษาตำราและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไว้ด้วย

. . ว่าแต่ วิปัสสนาธุระ คืออะไร?

วิปัสสนาธุระ คือ งานที่มุ่งอบรมปัญญาให้เกิดโดยการปล่อยวางภาระทั้งปวง ทำกายใจให้เบา ยินดีในเสนาสนะที่เงียบสงบ พิจารณาถึงความเสื่อมไปสิ้นไปในสังขารร่างกายจนเห็นสามัญลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ชัดเจน เจริญอบรมวิปัสสนาต่อเนื่องไปไม่ขาดสายจนถึงหลักชัยคือคว้าอรหัตผลได้

ธรรมยุตินิกาย คืออะไร?

ธรรมยุตินิกาย หรือ ธรรมยุต เป็นคณะหนึ่งของพระสงฆ์ในประเทศไทย เป็นฝ่าย วิปัสสนาธุระ ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระวชิรญาณเถระ ( เจ้าฟ้ามงกุฏ : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ 4 ) และเมื่อถึงรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ รศ.121” มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

นิกายธรรมยุต ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัติในสิ่ง ที่ถูกต้องดีงาม ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพร่องของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณ ให้สมบูรณ์ทั้งพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นความพยายามของพระวิชรญาณเถระเพื่อช่วยปฏิรูปการคณะสงฆ์และเผยแผ่พระ พุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นในประเทศไทย

การก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เป็นสาเหตุทำให้พระสงฆ์เถรวาทอื่นซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรม ยุติ ถูกพระวชิรญาณเถระเรียกว่า "มหานิกาย" อีกด้วย ซึ่งคำว่ามหานิกายนี้ได้ถูกนำมาใช้เรียกพระสงฆ์สายเถรวาทอื่นที่มิใช่ธรรมยุตินิกายมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมาของ พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท

หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน พระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ 7 เดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท แปลว่า คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ คำว่า เถระ ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิกาย เถรวาท อันหมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี

ถ้าย่อเก่งลองฝึกย่อเพื่อจำดูนะ จบของวันนี้แล้วครับ

"วันแม่" Coming Soon . .

สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น