วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

คำที่มักเขียนผิด

จงขีดเส้นใต้คำที่เขียนผิดและแก้คำใหม่ให้ถูกต้อง

1. กงศุล
2. กฎ
3. กฏหมาย
4. กบฏ
5. กันเชียง
6. กรรมบท
7. กล่อน
8. กระจิ๊ดริด
9. กระตือรือร้น
10. ขบวนการยุติธรรม
11. กอปร
12. กระทิ
13. กระหรี่ปั๊บ
14. กากบาด
15. กามารมณ์
16. เกษียรหนังสือ
17. ขมักเขม้น
18. คึ่นช่าย
19. คทา
20. คณโฑ
21. คริสต์กาล
22. คริสต์ศตวรรษ
23. คลีนิค
24. เค๊ก
25. แครอรี
26. งึมงำ
27. จัตุสดม
28. จันทร์อับ
29. โจทก์จำเลย
30. โจทจัน
31. ชอ่ำ
32. ชมด
33. ซาหลิ่ม
34. ดาวดึงส์
35. เต๊นท์
36. ถมปัศ
37.ทะโมน
38. ทรมาทรกรรม
39. ทวารวดี
40. น้ำมันก๊าซ
41. นานัปการ
42. โน๊ต
43. บังสกุล
44.หงส์
45. เหม็นสาป
46. ไอศครีม


เฉลย
คำที่เขียนผิดมีดังนี้ 
1. กงสุล
3. กฎหมาย
5. กรรเชียง
6. กรรมบถ
7. กร่อน
8. กระจิริด
10. กระบวนการยุติธรรม
12. กะทิ
13. กะหรี่ปั๊บ
14. กากบาท
16. เกษียนหนังสือ
17. ขะมักเขม้น
18. ขึ้นฉ่าย
20. คนโท
21. คริสตกาล
23. คลินิก
24. เค้ก
25. แคลอรี
27. จตุสดมภ์, จัตุสดมภ์
28. จันอับ
30. โจษจัน
32. ชะมด
33. ซ่าหริ่ม
35. เต็นท์
36. ถมปัด
37. ทโมน
40. น้ำมันก๊าด
42. โน้ต
43. บังสุกุล
45. เหม็นสาบ
46. ไอศกรีม


ขอขอบคุณ ข้อมูลอ้างอิงจาก หนังสือ "อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร" ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

ข่าวปัจจุบัน 27 มกราคม พ.ศ. 2554

ข่าวปัจจุบัน
สวัสดีครับ ใกล้ถึงวันสอบ O-NET เข้ามาเต็มที่ ต้องอ่านหนังสือและตั้งใจเรียนได้แล้ว เมี้ยว

๐5ettaคุง๐ News!

ข่าววันนี้ขอเสนอเพียง 2 เรื่อง เมี้ยว

27 มกราคม พ.ศ. 2554

1. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดโครงการปีแห่งการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี โดยได้ปล่อยขบวนรถจักรยานยนต์ 400 คัน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ และร่วมมือสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ในทุกพื้นที่ เพื่อบรรเทาความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ เนื่องจากอุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต บาดเจ็บ และพิการของคนไทย สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่าปีละ 200,000,000,000 บาท หรือ ร้อยละ 2.8 ของจีดีพี ทั้งนี้ ในระหว่างปี พ.ศ. 2554 - 2563 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นทศวรรษความปลอดภัยทางถนน โดยเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้ได้ครึ่งหนึ่งภายใน พ.ศ. 2563 หรือมีอัตราการตายไม่เกิน 10 คนต่อประชากร 100,000 คน

2. มีการประชุมเศรษฐกิจโลก "เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม" ที่เมืองตากอากาศ "ดาวอส" ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีผู้นำหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย และผู้บริหารการเงินทั่วโลกเข้าร่วมประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม ได้พุ่งเป้าที่ประเด็นความวุ่นวายที่เกิดจากวิกฤตหนี้สินของยูโรโซนโดยหลังจากที่มีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับกรีซเมื่อเดือนพฤษภาคม และไอร์แลนด์เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว เหล้าผู้นำทางธุรกิจระบุว่า มีความคาดหวังในทางบวกมากขึ้นว่าสหภาพยุโรป(อียู)มีมาตรการพร้อมสำหรับใช้ในการช่วยเหลือประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่มีสถานะทางการเงินอ่อนแอเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นให้กับภาคการเงิน วิกฤตหนี้สิน ของกลุ่มประเทศผู้ใช้เงินสกุลยูโรหรือยูโรโซนจะแก้ไขได้สำเร็จโดยที่ไม่แพร่ขยายลุกลามมายังสเปน และนักลงทุนจะไม่ต้องถูกบังคับให้แบกความสูญเสียในระดับที่ไม่อาจยอมรับได้



สำหรับวันนี้ขอเสนอคำว่า สวัสดีครับ เมี้ยว

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง เทคโนโลยีอวกาศ

สวัสดีครับ ทุกท่าน วันนี้ขอนำความรู้มาฝากทุกๆท่านเรื่อง เทคโนโลยีอวกาศ ขออภัยที่ไม่ได้ใส่ภาพไว้ครับ


ความหมายของเทคโนโลยีอวกาศ


อวกาศ หมายถึง อาณาบริเวณอันกว้างใหญ่ที่อยู่เลยชั้นบรรยากาศของโลกออกไป ไม่สามารถระบุ ถึงขอบเขตได้อย่างชัดเจน โดยปกติอวกาศเป็นที่ว่างเปล่า มีความหนาแน่น น้อย การศึกษาความรู้เกี่ยวกับอวกาศจำเป็นต้องใช้ความรู้ เครื่องมือ และกลวิธีทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

ดังนั้น เทคโนโลยีอวกาศ จึงหมายถึง ระเบียบการนำความรู้ เครื่องแลวิธีการต่าง ทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์ และ อวกาศ ตลอดจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติ และการ ดำรงชีวิตของมนุษย์ด้วย เช่น การนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้สำรวจและตรวจสอบ สภาพอากาศของโลก เป็นต้น

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ

ในสมัยโบราณ เรื่องราวเกี่ยวกับห้วงอวกาศเป็นเรื่องลี้ลับ มนุษย์ศึกษาอวกาศโดยการสังเกตปรากฏการณ์บนท้องฟ้าและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นรวมทั้งพยายามอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอวกาศเจริญก้าวหน้ามากขึ้น นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างยานอวกาศเพื่อไปสำรวจอวกาศได้ ยุคอวกาศถือว่าเริ่มต้นขึ้นเมื่อ


- 4 ตุลาคม พ.. 2500 รัสเซียได้ส่งดาวเทียมดวงแรก ชื่อ สปุตนิก 1 ขึ้นไปโคจรในอวกาศ

- 3 พฤศจิกายน พ.. 2500 รัสเซียได้ทดลองการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในอวกาศ โดยส่งสุนัข ชื่อ ไลก้า ไปพร้อมกับยานสปุตนิก 2

สุนัขไลก้า


ไลก้า (อังกฤษ: Laika; รัสเซีย: Лайка) เป็นชื่อของสุนัขตัวแรกของโลกที่เดินทางไปกับยานอวกาศสปุตนิก 2 ของโซเวียต ขึ้นไปในวงโคจรรอบโลกเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 หนึ่งเดือนหลังการส่งสปุตนิก 1 ขึ้นสู่อวกาศ ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500

ไลก้าเป็นสุนัขเพศเมีย เดิมชื่อว่า Kudryavka (รัสเซีย: кудрявка) เป็นสุนัขข้างถนนที่ถูกพบในกรุงมอสโก ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นไลก้า ตามชื่อพันธุ์สุนัขที่ใช้ล่าสัตว์ในรัสเซีย ไซบีเรีย และสแกนดิเนเวีย ไลก้าเป็นสุนัขหนึ่งในสามตัวที่ได้รับการฝึกสำหรับปฏิบัติภารกิจนี้ อีกสองตัว มีชื่อว่า Albina และ Mushka

สาเหตุการตาย หลังจากสปุตนิก 2 เข้าสู่วงโคจรแล้ว ทางการโซเวียตแถลงว่าภารกิจนี้จะไม่มีการนำไลก้ากลับมายังพื้นโลก มันจะต้องตายในอวกาศ หลังจากนั้นทางการโซเวียตแถลงว่า ไลก้ามีชีวิตอยู่ในอวกาศนานถึงสี่วัน ก่อนจะตายอย่างสงบ ยานอวกาศสปุตนิก 2 โคจรรอบโลกเป็นจำนวน 2,570 รอบ ก่อนจะตกลงสู่บรรยากาศโลกในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2501

สาเหตุการตายของไลก้าถูกปกปิดเป็นความลับเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งมีการเปิดเผยโดย Dimitri Malashenkov แห่ง Institute for Biological Problems กรุงมอสโคว์ เมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่าหลังจากถูกส่งขึ้นไปในอวกาศไม่นาน ไลก้ามีชีพจรสูงผิดปกติ หลังจากอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก กลับมีชีพจรต่ำลง แสดงให้เห็นว่าไลก้ามีความเครียดสูง จากนั้นระบบควบคุมอุณหภูมิของยานอวกาศทำงานผิดปกติ ทำให้ไลก้าตายด้วยความร้อนสูง และอาการตื่นตระหนก ประมาณ 5-7 ชั่วโมง หลังจากเริ่มปล่อยยาน

อย่างไรก็ตาม การที่มันสามารถมีชีวิตอยู่ในอวกาศ ในสภาวะไร้น้ำหนักในช่วงแรกของการเดินทาง และข้อมูลที่ตรวจวัดได้ ถือเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวงการสำรวจอวกาศ ด้วยนักบินอวกาศในเวลาต่อมา

หลังจากการส่งสปุตนิก 2 โซเวียตได้ส่งสุนัขขึ้นไปในอวกาศอีกครั้ง กับยานอวกาศสปุตนิก 5 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2503 พร้อมกับสุนัขพันธุ์ผสม 2 ตัว ชื่อ เบลก้า (Belka, Белка) และ สเตรลก้า (Strelka, Стрелка) กับหนูและต้นไม้จำนวนหนึ่ง ยานกลับสู่บรรยากาศโลกอย่างปลอดภัยในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2503 หลังจากนั้น สเตรลก้า มีลูกครอกหนึ่ง ทางการโซเวียตได้จัดส่งลูกของสเตรลก้า ให้เป็นของขวัญแก่ แจกเกอลีน เคนเนดี ภริยาประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี

- 31 มกราคม พ.. 2501 สหรัฐอเมริกา ได้ส่งดาวเทียม เอกซ์พลอเรอร์ 1

- 31 มกราคม พ.. 2504 ลิงชิมแพนซี ชื่อ แฮม ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ อยู่ในอวกาศนาน 17 นาที และกลับลงมาสู่โลกอย่างปลอดภัย

ลิงชิมแพนซี แฮม


แฮม (อังกฤษ: Ham the Chimp , Ham the Astrochimp) (ตุลาคม พ.ศ. 2499 - 19 มกราคม พ.ศ. 2526 ) เป็นชื่อของลิงชิมแปนซีในโครงการสำรวจอวกาศของนาซา ถูกส่งขึ้นไปกับยานอวกาศเมอร์คิวรี MR-2 เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2504 และกลับลงสู่พื้นโลก ในมหาสมุทรแอตแลนติก อย่างปลอดภัยในวันเดียวกัน

ชื่อ แฮม มาจากชื่อย่อของ Holloman Aerospace Medical Center ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกเพื่อเตรียมความพร้อมของมันสำหรับในโครงการนี้ ตั้งอยู่ในฐานทัพอากาศฮอลโลแมน มลรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา การส่งแฮมขึ้นสู่อวกาศ เป็นการทดสอบความปลอดภัย ก่อนจะมีการส่งมนุษย์อวกาศคนแรกของสหรัฐ อลัน เชพพาร์ด ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504

หลังจากกลับมาได้อย่างปลอดภัย แฮมถูกส่งไปเลี้ยงดูที่สวนสัตว์ในวอชิงตันดีซี และนอร์ทแคโรไลนา

- 12 เมษายน พ.. 2504 รัสเซียส่ง ยูริ อะเลคเสเยวิช กาการิน มนุษย์อวกาศคนแรกของโลกขึ้นไปโคจรรอบโลกพร้อมกับยานวอสต็อก 1

ยูริ อะเลคเสเยวิช กาการิน


ยูริ อะเลคเสเยวิช กาการิน (รัสเซีย: Юрий Алексеевич Гагарин; อักษรโรมัน: Yuri Alekseyevich Gagarin) ชาวโซเวียต เป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลก เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2476 ในเมืองกชาทสค์ และเสียชีวิตวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 ใกล้กรุงมอสโก

กาการินเป็นบุตรช่างไม้ในนารวม (เมื่อครั้งรัสเซียเป็นประเทศคอมมิวนิสต์) ได้เรียนเป็นช่างปั้นจากโรงเรียนการค้าใกล้กรุงมอสโก ปี พ.ศ. 2494 จากนั้นศึกษาต่อในวิทยาลัยอุตสาหกรรมที่เมืองซาราตอฟ และในเวลาเดียวกันก็เข้าอบรมการบินด้วย เมื่อสำเร็จหลักสูตรก็เข้าโรงเรียนนายเรืออากาศโซเวียต ในโอเรนบูร์ก และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2500

ยานวอสต็อค 1 (Vostok 1) ของกาการินมีน้ำหนัก 4 ¾ ตัน ปล่อยจากฐานยิงเมื่อเวลา 9.07 น. วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2504 และโคจรรอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 29 นาที ที่ระดับความสูงมากที่สุด 187 ไมล์ (301 กิโลเมตร) และลงจอดเมื่อเวลา 10.55 นาฬิกา ตามเวลาในรัสเซีย การบินในอวกาศครั้งนี้ทำให้กาการินมีชื่อเสียงก้องไปทั่วโลก และได้รับเครื่องประดับเกียรติยศเลนิน และได้ตำแหน่งเป็นวีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต นอกจากนี้ยังมีการสร้างอนุสรณ์สถานและตั้งชื่อถนนเพื่อเป็นเกียรติแต่กาการินในสถานที่หลายแห่งทั่วประเทศ

หลังจากนั้นกาการินมิได้ขึ้นไปควบคุมยานอวกาศอีก แต่ก็มีส่วนในการฝึกอบรมนักบินจักรวาลของรัสเซียอย่างจริงจัง น่าเสียใจที่กาการินต้องจบชีวิตขณะอายุได้เพียง 34 ปี เนื่องจากอุบัติเหตุเครื่องบินตก ขณะทำการอบรมการบินตามปกติ อัฐิของกาการินถูกนำไปบรรจุไว้ในช่องเก็บในกำแพงเครมลิน หลังจาก กาการินเสียชีวิต รัฐบาลได้เปลี่ยนชื่อเมืองกชาทสค์ เป็นเมืองกาการิน เพื่อเป็นเกียรติแก่นักบินอวกาศคนแรกของโลกผู้นี้

- 7 กุมภาพันธ์ 2505 จอห์น เฮร์เชล เกล็นน์ จูเนียร์ ขึ้นสู่อวกาศ กับยานเฟรนด์ชิป 7 ในโครงการเมอคิวรี โคจรรอบโลก 3 รอบ ใช้เวลา 4 ชั่วโมง 55 นาที

จอห์น เกล็นน์


จอห์น เฮร์เชล เกล็นน์ จูเนียร์ (John Herschel Glenn Jr. - เกิด เมื่อ 18 กรกฎาคม 1921 ที่เมืองเคมบริดจ์ รัฐโอไฮโอ[1]) นักบินอวกาศชาวอเมริกัน เดินทางไปกับกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี เพื่อศึกษาผลกระทบของการเดินทางในอวกาศที่มีต่อผู้สูงอายุ หลังห่างหายจากภารกิจอวกาศมานานกว่า 3 ทศวรรษ

จอห์น เกล็นน์เข้าเป็นนักบินในหน่วยรบของกองทัพเรือ และนาวิกโยธินสหรัฐ เคยร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 และ สงครามเกาหลี เคยทำการบินกับเครื่องบินรุ่น R4D (ดักลาส ซี-47 สกายเทรน ดาโกต้า รุ่นของกองทัพเรือ) และ เครื่องบินขับไล่ F4U Corsair และ F9F Panther เขายังเคยเป็นนักบินแลกเปลี่ยนให้กองทัพอากาศสหรัฐ ขึ้นบินกับ F-86 Sabre ก่อนจะย้ายมาเป็นนักบินทดสอบให้กับกองทัพเรือ

จอห์น เกล็นน์ เป็นนักบินอวกาศให้กับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ในโครงการเมอร์คิวรี โดยเป็นนักบินอวกาศคนที่ 3 ของสหรัฐอเมริกา เป็นชาวอเมริกันคนแรกที่โคจรรอบโลกเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1962 ในการขึ้นบินนาน 5 ชั่วโมงกับ ยานเฟรนด์ชิป 7

จากนั้นเขาได้ลาออกจากองค์การนาซ่า และกลับมาทำงานในกองทัพเรือ จนปี ค.ศ. 1965 จึงลาออกมาทำงานการเมืองให้กับพรรคเดโมแครต โดยมีความสนิทสนมเป็นพิเศษกับตระกูลเคนเนดี เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นวุฒิสมาชิกอาวุโส จากจากรัฐโอไฮโอ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ. 1999

ในปี ค.ศ. 1976 เกล็นน์เคยลงสมัครเพื่อเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยเสนอตัวเป็นรองประธานาธิบดีคู่กับ จิมมี คาร์เตอร์ แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก ต่อมาในปี ค.ศ. 1984 ได้สมัครเป็นตัวแทนพรรคอีกครั้งในตำแหน่งประธานาธิบดี แต่พ่ายแพ้ในคอคัสและไพรมารี จนต้องถอนตัวออกไป

จอห์น เกล็นน์ ได้ขึ้นสู่อวกาศอีกครั้ง เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1998 กับยานกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี เที่ยวบินที่ STS-95 เป็น เวลา 7 วัน เพื่อศึกษาผลกระทบของการเดินทางในอวกาศกับผู้สูงอายุ แต่ก็มีบางคนคิดว่าภารกิจนี้เป็นการหาเสียงเพื่อหวังผลทางการเมืองแอบแฝง

- 16 มิถุนายน พ.. 2506 รัสเซียได้ส่งมนุษย์อวกาศหญิงคนแรก คือ วาเลนตินา เทเรซโควา นิโคเลเยฟ ขึ้นสู่อวกาศไปกับยานวอสต็อค 6 อยู่ในอวกาศนานถึง 3 วัน

วาเลนตินา เทเรซโควา นิโคเลเยฟ


วาเลนตินา เทเรซโควา นิโคเลเยฟ นักบินอวกาศรัสเซียเกษียณอายุ นักบินอวกาศสตรีคนแรกของโลกขึ้นสู่วงโคจรกับยานอวกาศชื่อ "ยานวอสตอค 6" เมื่อปี พ.ศ. 2506

วาเลนตีนา เทเรซโควา นิโคเลเยฟ เกิดที่บอลโชเยมัสเลนนีโคโว หมู่บ้านขนาดเล็กในแคว้นยาโรสลัฟล์ หลังจากจบการศึกษามัธยมปลายได้เข้าทำงานในโรงงานทำยางรถอยู่ระยะหนึ่งแลัว จึงเข้าศึกษาต่อด้านวิศวกรรม ต่อมาได้เข้าเป็นนักกระโดดร่มที่สโมสรการบินท้องถิ่นและกระโดดร่มเป็นครั้ง แรกเมื่ออายุ 22 ปี เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2502 สองปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2504 เธอได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์และได้รับการ ยอมรับเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

- 15 ธันวาคม พ.ศ. 2507 อิตาลีได้ส่งดาวเทียม ซาน มาร์โค 1
First Italian Satellite - ดาวเทียมดวงแรกของอิตาลี

ดาวเทียมดวงแรกของอิตาลี ซึ่งเป็นผลงานการร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิตาลี

- 18 มีนาคม พ.. 2508 อเล็กซี ลีโอนอฟ ประสบความสำเร็จในการออกนอกยาน วอสโคด 2 และเดินในอวกาศเป็นคนแรกของโลก ใช้เวลา 10 นาที โดยอาศัยสายโยงตัวยาว 4.6 เมตร

อเล็กซี ลีโอนอฟ


นายพลอเล็กซี ลีโอนอฟ ทหารอากาศโซเวียตที่ปลดประจำการแล้ว เกิดเมื่อ30 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) ใน Listvyanka, สหภาพโซเวียต เป็นบุคคลแรกของโลกที่เดินบนอวกาศ

- 3 มิถุนายน พ.. 2508 เอ็ดวาร์ด ฮิกกินส์ ไวต์ เป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ได้ออกไปท่องอวกาศ ได้สำเร็จ ในโครงการ เจมินี 4 เขาต้องสวมชุดอวกาศหนาถึง 21 ชั้น

เอ็ดวาร์ด ฮิกกินส์ ไวต์


เอ็ดวาร์ด ฮิกกินส์ ไวต์ เป็นวิศวกร , เจ้าหน้าที่กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา และนักบินอวกาศองการนาซา

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.. 2508 เขาเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ขึ้นไปเดินในอวกาศ

เอ็ดวาร์ด ฮิกกินส์ ไวต์ ได้เสียชีวิตพร้อมกับเพื่อนนักบินอวกาศ กัส กริสซัม และ โรเจอร์ คาร์ฟฟี ระหว่างการทดสอบก่อนการเปิดตัวครั้งแรกของ ยานอะพอลโล 1 ที่ศูนย์อวกาศเคนนิดี

หลังจากเสียชีวิต เขาได้รับ Congressional Space Medal of Honor และ ก่อนหน้านี้ เข้าได้รับ NASA Distinguished Service Medal สำหรับ เจมินี 4 space flight ของเขา

- 21 กุมภาพันธ์ พ.. 2510 ขณะฝึกซ้อมยานอะพอลโล 1 ก่อนส่งไปดวงจันทร์ เกิดไฟฟ้าลัดวงจรไฟลุกไหม้คลอกนักบินอวกาศ 3 คนเสียชีวิตทั้งหมด (เอ็ดวาร์ด ฮิกกินส์ ไวต์ , กัส กริสซัม และ โรเจอร์ คาร์ฟฟี)

- 24 ธันวาคม พ.. 2511 ยานอะพอลโล 8 พร้อมนักบินอวกาศ 3 คน ไปโคจรรอบดวงจันทร์ 10 รอบ เป็นเวลา 20 ชั่วโมง และกลับมายังโลกอย่างปลอดภัย โดยใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น 6 วัน

- 21 กรกฎาคม พ.. 2512 นับเป็นเหตุการณ์ประวัติการณ์ของมนุษยชาติ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ที่มีมนุษย์อวกาศควบคุมได้ลงสัมผัสพื้นผิวดวงจันทร์ โดยมีนักบินอวกาศของสหรัฐอเมริกา จำนวน 3 นาย ที่ไปพร้อมกับยานอวกาศ อะพอลโล 11 ได้แก่ นีล แอลเดน อาร์มสตรอง, เอ็ดวิน อัลตริน และ ไมเคิล คอลลินส์ ได้ลงสำรวจพื้นผิวของดวงจันทร์

นีล แอลเดน อาร์มสตรอง


นีล แอลเดน อาร์มสตรอง (อังกฤษ: Neil Alden Armstrong) เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) เป็นนักบินอวกาศชาวอเมริกัน และเป็นมนุษย์คนแรกที่ได้ชื่อว่าเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์

อาร์มสตรองเกิดที่มลรัฐโอไฮโอ จบการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย และเป็นนักบินทดสอบให้กับองค์การนาซามาก่อน เขาได้รับคัดเลือกเป็นนักบินอวกาศเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) และปฏิบัติภารกิจหลายภารกิจในโครงการเจมินีและโครงการอะพอลโล

พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) เขาเป็นผู้บัญชาการของโครงการโครงการอะพอลโล 11 ซึ่งมีเป้าหมายนำยานไปจอดบนดวงจันทร์ โดยสมาชิกในทีมคือ เอ็ดวิน อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์

เขากล่าวประโยคนี้เมื่อเหยียบลงบนพื้นผิวของดวงจันทร์

“That's one small step for [a] man, one giant leap for mankind.”
[นี่เป็นก้าวเล็ก ๆ ของมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ]

- .. 2512 ยานมาริเนอร์ 6 และ ยานมาริเนอร์ 7 ถูกส่งไปถ่ายภาพดาวอังคาร

- .. 2514 ยานมาริเนอร์ 9 ไปโคจรรอบดาวอังคารประสบความสำเร็จ

- 19 เมษายน พ.. 2514 รัสเซียส่งสถานีอวกาศ โซยุส 1 แห่งแรกของโลกขึ้นสู่วงโคจร

- 14 พฤษภาคม พ.. 2516 องค์การนาซา ส่งยาน สกายแลบ ขึ้นไปเป็นห้องปฏิบัติการลอยฟ้าในอวกาศ

- 17 กรกฎาคม พ.. 2518 ปฏิบัติการโครงการอวกาศร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต (APOLLO-SOYUS MISSION) มีการเชื่อมต่อยานอวกาศอะพอลโล 18 กับ ยานอวกาศโซยุส 19 มนุษย์อวกาศสหรัฐอเมริกา 3 คน กับ มนุษย์อวกาศโซเวียต 2 คน เข้าไปเยี่ยมเยือนอวกาศของกันและกันและปฏิบัติการทางอวกาศร่วมกัน

- 20 สิงหาคม พ.. 2518 สหรัฐอเมริกา ส่งยานอวกาศ ไวกิง 1 ไปสำรวจพื้นผิวดาวอังคาร ลงจอดบนดาวอังคาร

วันที่ 20 พฤษภาคม พ.. 2519 ได้ปฏิบัติการสำรวจและส่งข้อมูลต่างๆ กลับมายังโลก 2,299 วัน

- 9 กันยายน พ.. 2518 สหรัฐอเมริกา ส่งยานอวกาศ ไวกิง 2 ไปสำรวจพื้นผิวดาวอังคาร ลงจอดบนดาวอังคาร

วันที่ 4 กันยายน พ.. 2519 ได้ปฏิบัติการสำรวจและส่งข้อมูลต่างๆ กลับมายังโลก 718 วัน

- .. 2521 ยานอวกาศเวเนรา 9 และ ยานอวกาศเวเนรา 10 ของรัสเซีย กับยานอวกาศ ไฟโอเนียร์-วีนัส ของสหรัฐอเมริกาได้ไปสำรวจดาวศุกร์และส่งข้อมูลภาพถ่ายกลับมา

- .. 2522 ยานสกายแลบตก เนื่องจากบรรยากาศของโลกขยายตัว ทำให้วงโคจรลดต่ำลงแต่ไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายเนื่องจากชิ้นส่วนส่วนใหญ่ไปตกในมหาสมุทร

- .. 2520-2522 สหรัฐอเมริกาส่งยานอวกาศวอยเอเจอร์ 1 และ วอยเอเจอร์ 2 สำรวจดาวเคราะห์ที่อยู่รอบนอกของระบบสุริยะ

- 25 สิงหาคม พ.. 2524 ยานวอยเอเจอร์ 2 เฉียดเข้าผ่านดาวเสาร์ และส่งข้อมูลที่สำรวจได้กลับมา

- .. 2525 ยานอวกาศ เวเนรา 13 และ ยานอวกาศ เวเนรา 14 ของรัสเซีย ลงจอดบนพื้นผิวดาวศุกร์

- 24 มกราคม พ.. 2529 ยานอวกาศ วอยเอเจอร์ 2 เฉียดเข้าผ่านดาวยูเรนัสและส่งข้อมูลที่สำรวจได้กลับมา

- 28 มกราคม พ.. 2529 ยานขนส่งอวกาศ แชลเลนเจอร์ ระเบิด หลังจากถูกส่งขึ้นฐานบินเพียง 73 วินาที ทำให้สูญเสียนักบินอวกาศ 7 คน

- 25 สิงหาคม พ.. 2533 ยานอวกาศ วอยเอเจอร์ 2 เฉียดเข้าผ่านดาวเนปจูนและส่งข้อมูลที่สำรวจได้กลับมา

- .. 2533 สหรัฐอเมริกาประสบผลสำเร็จในการส่งยานมาร์ส พาธไฟน์เดอร์ ขึ้นไปสำรวจบนดาวอังคาร เพื่อให้ยานหุ่นยนต์ 6 ล้อ ชื่อโซเจอร์เนอร์ ซึ่งบังคับด้วยคลื่นวิทยุออกสำรวจและวิเคราะห์ตัวอย่างหิน โดยถ่ายภาพดาวอังคารส่งกลับมายังโลก

- .. 2535 องค์การสหประชาชาติกำหนดให้เป็นปีอวกาศสากล (I.S.Y) เพื่อฉลองครบรอบ 500 ปีที่โคลัมบัส เดินทางถึงอเมริกา

- 4 กรกฎาคม พ.. 2540 ยานพาธไฟน์เดอร์ ลงจอดบนดาวอังคาร ส่งหุ่นยนต์สำรวจลักษณะเป็นรถขนาดเล็กสำรวจพื้นผิวดาวอังคารบริเวณที่คาดว่ามีน้ำท่วมขังมาก่อน

- 23 มีนาคม พ.. 2544 สถานีอวกาศเมียร์ของรัสเซียตกลงสู่พื้นโลกบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคใกล้เกาะฟิจิ ไม่มีผู้ใดได้รับอันตราย

- 7 เมษายน พ.. 2544 องค์การนาซาส่งยาน มาร์สโอดิสซี ไปสำรวจดาวอังคาร ถึงดาวอังคารในวันที่ 24 ตุลาคม พ.. 2544

- 1 กุมภาพันธ์ พ.. 2546 ยานขนส่งอวกาศโคลัมเบียระเบิด ระหว่างเดินทางกลับสู่พื้นโลก หลังจากไปปฏิบัติภารกิจในวงโคจรโลกเป็นเวลา 16 วัน ทำให้สูญเสียนักบินอวกาศ 7 คน

- 15 ตุลาคม พ.. 2546 จีนส่งยาน เสินโจว 5 พร้อมนักบินอวกาศ พันโท หยาง ลีเว่ย ขึ้นสู่อวกาศ โดยโคจรรอบโลก 14 รอบ ใช้เวลา 20 ชั่วโมง ก่อนกลับมาสู่โลกอย่างปลอดภัย

- 14 มกราคม พ.. 2548 ยานไฮเกนส์ขององค์การอวกาศยุโรป ซึ่งเดินทางไปกับยานแคสสินีขององค์การนาซา ลงสำรวจดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ (ออกเดินทางไปจากโลกเมื่อ 15 ตุลาคม พ.. 2540)

- .. 2540-2551 องค์การนาซา องค์การอวกาศ องค์การอวกาศยุโรป และองค์การอวกาศอิตาลี ได้ร่วมมือกันสร้างยานอวกาศลำใหญ่ที่สุด น้ำหนักมากที่สุด ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและซับซ้อนที่สุดเท่าที่เคยเป็นมา ยานลำนี้มีชื่อว่า ยานแคสสินี ซึ่งถูกส่งออกไปจากโลกเมื่อเดือนตุลาคม พ.. 2540 มีกำหนดถึงและสำรวจดาวเสาร์ในปี พ.. 2548-2551

- 4 กรกฎาคม พ.. 2548 นาซา ส่งยานลูกในโครงการดีฟอินแพคต์ พุ่งเข้าชน ดาวหาง เทมเพล 1 ทำให้เกิดหลุมขนาดใหญ่ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของดาวหาง

- .. 2541-2549 ยานสตาร์ดัส ถูกส่งเดินทางไปสำรวจดาวหางวิลด์ 2 เพื่อถ่ายภาพดาวหางและฝ่าเข้าไปบริเวณหางเพื่อใช้เครื่องดักจับฝุ่นธุลีจากส่วนหาง

- 27 ตุลาคม พ.. 2551 จีน ได้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจ ย่ำอวกาศครั้งแรก โดย นาวาโท ไจ๋ จื้อถัง ได้ออกนอกยาน เสินโจว 7 ไปย่ำอวกาศนาน 15 นาที ด้วยชุดที่จีนประดิษฐ์ขึ้นเอง

- .. 2551 นักดาราศาสตร์สวิสเซอร์แลนด์-ฝรั่งเศส ประกาศพบดาวเคราะห์หิน 3 ดวง โคจรรอบดาวฤกษ์นอกระบบสุริยะและไกลจากโลก 42 ปีแสง บ่งชี้ว่าดาวเคราะห์คล้ายโลกอาจมีอยู่ทั่วไปในเอกภพ

- 20 กรกฎาคม พ.. 2552 นาซา ฉลองครบ 40 ปี ส่งคนไปเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรก (นีล แอลเดน อาร์มสตรอง)



การศึกษาและการค้นคว้าสำรวจทางด้านอวกาศคงยังไม่มีที่สิ้นสุดยิ่งเมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้พัฒนาก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งสามารถตอบสนองความอยากรู้ อยากเห็นของมนุษย์ได้มากขึ้น ดั้งนั้นเราจะต้องติดตามการศึกษาอวกาศของนักวิทยาศาสตร์ต่อไป

1 ปีแสง เป็นระยะที่แสงเดินทางเป็นเวลา 1 ปี หรือมีค่าประมาณ 9,500,000,000,000 กิโลเมตร


ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศที่มนุษย์ใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับอวกาศและดวงดาวต่างๆ


จรวด (อังกฤษ: Rocket) หมายถึงมิสไซล์, ยานอวกาศ, เครื่องบิน หรือพาหนะอื่นใดที่มีอาศัยแรงผลักดันของตัวจรวดในการพุ่งไปอย่างรวดเร็ว โดยใช้การเผาผลาญเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์จรวด จรวดเคมีสร้างพลังงานจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงจรวด การดูดก๊าซภายในห้องลูกสูบและขยายออกไปทางหัวฉีดทำให้ก๊าซเคลื่อนที่ด้วยความเร่งในระดับไฮเปอร์โซนิก ซึ่งทำให้เกิดแรงผลักมหาศาลต่อตัวจรวดตามกฎข้อที่สามของนิวตัน (แรงกิริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยา)

วิทยาการจรวดเริ่มขึ้นตั้งแต่การคิดค้นดินปืนโดยนักพรตชาวจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ต่อมามีรายงานการใช้ธนูไฟและ "ก้อนเหล็ก" ที่ยิงได้ไกลถึง 15 ไมล์ ดอกไม้ไฟชนิดแรกเริ่มปรากฏในราว ค.ศ. 1264 หลังจากนั้นมีบันทึกเอ่ยถึง "มังกรไฟที่พุ่งขึ้นจากน้ำ" ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 วิทยาการจรวดเผยแพร่ไปสู่ชาวยุโรปผ่านการแผ่ขยายอาณาจักรของเจงกิสข่าน

การใช้งานจรวดมีมากมายหลายแบบ ตั้งแต่ใช้ยิงพลุ ยิงอาวุธระยะไกล ส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ส่งยานอวกาศของมนุษย์ และยานสำรวจระหว่างดวงดาว

การทำงานของจรวด

จรวดทำงานตามกฎข้อที่ 3 ของนิวตัน (ทุก แรงกระทำจะมีแรงปฏิกิริยาขนาดเดียวกันแต่ทิศทางตรงข้าม) ไม่ใช่อย่างที่คนจำนวนมากยังเข้าใจว่า จรวดเคลื่อนที่เนื่องจากแรงขับของก๊าซที่ผลักกับพื้นช่วยยกตัวจรวดขึ้น หลังจากนั้นก๊าซผลักดันกับบรรยากาศให้จรวดลอยตัวสูงขึ้น เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจรวดจะไม่สามารถทำงานได้ในอวกาศ แต่ที่จริงแล้วจรวดทำงานได้ดีขึ้นในอวกาศที่ไม่มีแรงต้านของอากาศ

ที่จริงแล้วจรวดทำงานโดยให้ก๊าซจำนวนมหาศาลพ่นออกด้วยความเร็วสูงจากห้องเผา ไหม้ของเครื่องยนต์จรวดผ่านหัวฉีดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ ความเร็วของก๊าซนี้สูงถึงราว 2.7 กิโลเมตรต่อวินาที และการที่ก๊าซพ่นออกมานี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโมเมนตัมของก๊าซขณะเกิด การเผาไหม้ เกิดเป็นแรงที่ทำให้ก๊าซถูกผลักออกมา แรงนี้คือแรงกระทำตามกฏข้อที่สามของนิวตันและกระทำให้เกิดแรงปฏิกิริยาขนาด เดียวกันในทิศทางตรงข้ามเรียกว่า Thrust ที่เร่งความเร็วจรวด


เชื้อเพลิงขับดันของจรวดแบบเชื้อเพลิงเหลว ประกอบด้วยส่วนเชื้อเพลิงและตัวช่วยในการสันดาป ตัวอย่างเช่น ใช้ไฮโดรเจนเหลวเป็นเชื้อเพลิงและออกซิเจนเหลวเป็นตัวช่วยในการสันดาป เมื่อเผาไหม้จะให้ก๊าซร้อนจำนวนมหาศาลเกิดขึ้นในห้องสันดาป มวลของเชื้อเพลิงและตัวช่วยสันดาป (m) จะเท่ากับมวลของก๊าซที่เกิดขึ้น (กรณีที่การสันดาปเกิดขึ้นสมบูรณ์) ให้ความเร็วเฉลี่ยของก๊าซที่ออกมาเป็น v และการเผาไหม้เกิดขึ้นเป็นเวลานาน t วินาทีแล้ว อัตราการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมจะเท่ากับแรงที่ขับก๊าซออกมา เท่ากับ mv/t หรือเขียนใหม่ว่า แรงขับดัน


ดาวเทียม (อังกฤษ: Satellite) คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว ดาราจักร ต่างๆ

ประวัติ

ตั้งแต่โลกเราได้มีการประดิษฐ์คิดค้นดาวเทียมขึ้นมาใช้งาน ก็ทำให้โลกเกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาอำนวยประโยชน์ให้มนุษย์อย่างมากมาย หลายองค์กรและหลายๆ ประเทศต่างมีการเข้าร่วมกันแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี และสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ชาติ

ดาวเทียมก่อนทศวรรษที่ 60

ดาวเทียมได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 ดาวเทียมดังกล่าวมีชื่อว่า [["สปุตนิก (Sputnik)"]]โดยรัสเซียเป็นผู้ส่งขึ้นไปโคจร สปุตนิกทำหน้าที่ตรวจสอบการแผ่รังสีของชั้นบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟีย ในปี พ.ศ. 2501 สหรัฐอเมริกาได้ ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรบ้างมีชื่อว่า "Explorer" ทำให้รัสเซียและสหรัฐเป็น 2 ประเทศผู้นำทางด้านการสำรวจทางอวกาศ และการแข่งขันกันระหว่างทั้งคู่ได้เริ่มขึ้นในเวลาต่อมา

ดาวเทียมในทศวรรษที่ 60

ช่วงทศวรรษนี้เป็นช่วงการเฟื่องฟูของดาวเทียมสำหรับมนุษยชาติ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1960 สหรัฐได้ส่งดาวเทียม Echo 1 ขึ้นไปทำหน้าที่ในการสะท้อนคลื่นวิทยุสู่โลกได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้เชื่อได้ว่าการสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นเรื่องที่สามารถเป็นไปได้ซึ่ง ก่อนหน้านั้น ในเดือนเมษายนปีเดียวกัน สหรัฐก็ได้ส่งดาวเทียม TIROS 1 ขึ้นไปสู่อวกาศ ดาวเทียม TIROS 1 เป็นดาวเทียมสำรวจสภาพอากาศดวงแรกที่ได้ส่งภาพถ่ายกลุ่มเมฆหมอกกลับมายังโลก จากนั้นกองทัพเรือสหรัฐได้พัฒนาดาวเทียมหาตำแหน่งดวงแรกที่ได้ถูกส่งขึ้นไป โคจรในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1960 และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ได้พัฒนาดาวเทียมเป็นจำนวนมากกว่า 100 ดวงถูกส่งขึ้นไปโคจรแทนที่กันในแต่ละปี

ดาวเทียมในทศวรรษที่ 70

ช่วงทศวรรษที่ 70 ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เกิดขึ้นในโลกของดาวเทียม อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมได้ถูกนำมาใช้ ชิ้นส่วนอุปกรณ์เหล่านั้นล้วนถูกทำขึ้นมาจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและก่อ สร้างดาวเทียม

ดาวเทียมในทศวรรษที่ 80

ช่วงทศวรรษที่ 80 ดาวเทียมได้ถูกนำมาใช้ในการช่วยเหลือมนุษย์มากขึ้น ในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2525 Palapa B-2 ซึ่งเป็นดาวเทียมเพื่อการช่วยเหลือมนุษย์ดวงแรกที่ถูกส่งขึ้นไปโดยบรรทุกไปกับกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์(ยานอะพอลโล11)

ดาวเทียมในทศวรรษที่ 90

ในช่วงทศวรรษที่ 90 ดาวเทียมถูกใช้งานไปอย่างกว้างขวาง ไม่เว้นแม้แต่งานธรรมดาทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น บริษัท TRW Inc. ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนธรรมดา ก็ได้มีการวางแผนที่จะสร้างระบบดาวเทียมที่ครอบคลุมเครือข่าย ข่ายการสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบนี้เรียกว่า "Odyssey" ซึ่งได้ถูกใช้ในธุรกิจโทรคมนาคม ดาวเทียมของ TRW จะเน้นให้บริการในเขตพื้นที่สำคัญๆ เหมือนกับว่ามันได้ครอบคลุมโลกทุกส่วนไว้เป็นหนึ่งเดียว ฉะนั้น บริษัทจึงคาดหวังว่าจะสร้างกำไรงามๆ จากธุรกิจดาวเทียมโทรคมนาคม เหล่านี้เป็นวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นและถูกพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่าอยู่ตลอด เวลา

ดาวเทียมหลังทศวรรษที่ 90

หลังทศวรรษที่ 90 จนถึงศตวรรษที่ 21 ดาวเทียมยังคงถูกพัฒนาประสิทธิภาพ และขีดความสามารถต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง จนก้าวไปสู่ระบบอุตสาหกรรมดาวเทียม

ส่วนประกอบดาวเทียม

ดาวเทียมเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน มีส่วนประกอบหลายๆ อย่างประกอบเข้าด้วยกันและสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ สามารถโคจรรอบโลกด้วยความเร็วที่สูงพอที่จะหนีจากแรงดึงดูดของโลกได้ การสร้างดาวเทียมนั้นมีความพยายามออกแบบให้ชิ้นส่วนต่างๆ ทำงานได้อย่างประสิทธิภาพมากที่สุด และราคาไม่แพงมาก ดาวเทียมประกอบด้วยส่วนประกอบเป็นจำนวนมาก แต่ละส่วนจะมีระบบควบคุมการทำงานแยกย่อยกันไป และมีอุปกรณ์เพื่อควบคุมให้ระบบต่างๆ ทำงานร่วมกัน โดยองค์ประกอบส่วนใหญ่ของดาวเทียมประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

1. โครงสร้างดาวเทียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก โครงจะมีน้ำหนักประมาณ 15 - 25% ของน้ำหนักรวม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบา และต้องไม่เกิดการสั่นมากเกินที่กำหนด หากได้รับสัญญาณที่มีความถี่ หรือความสูงของคลื่นมากๆ (amptitude)

2. ระบบเครื่องยนต์ ซึ่งเรียกว่า "aerospike" อาศัยหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องอัดอากาศ และปล่อยออกทางปลายท่อ ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำงานได้ดีในสภาพสุญญากาศ ซึ่งต้องพิจารณาถึงน้ำหนักบรรทุกของดาวเทียมด้วย

3. ระบบพลังงาน ทำหน้าที่ผลิตพลังงาน และกักเก็บไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังระบบไฟฟ้าของดาวเทียม โดยมีแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ไว้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ให้ดาวเทียม แต่ในบางกรณีอาจใช้พลังงานนิวเคลียร์แทน

4. ระบบควบคุมและบังคับ ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ที่เก็บรวมรวมข้อมูล และประมวลผลคำสั่งต่างๆ ที่ได้รับจากส่วนควบคุมบนโลก โดยมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ (Radar System) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร

5. ระบบสื่อสารและนำทาง มีอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ซึ่งจะทำงาน โดยแผงวงจรควบคุมอัตโนมัติ

6. อุปกรณ์ควบคุมระดับความสูง เพื่อรักษาระดับความสูงให้สัมพันธ์กันระหว่างพื้นโลก และดวงอาทิตย์ หรือเพื่อรักษาระดับให้ดาวเทียมสามารถโคจรอยู่ได้

7. เครื่องมือบอกตำแหน่ง เพื่อกำหนดการเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมีส่วนย่อยๆ อีกบางส่วนที่จะทำงานหลังจาก ได้รับการกระตุ้นบางอย่าง เช่น ทำงานเมื่อได้รับสัญญาณ สะท้อนจากวัตถุบางชนิด หรือทำงานเมื่อได้รับลำแสงรังสี ฯลฯ

ชิ้นส่วนต่างๆ ของดาวเทียมได้ถูกทดสอบอย่างละเอียด ส่วนประกอบต่างๆ ถูกออกแบบสร้าง และทดสอบใช้งานอย่างอิสระ ส่วนต่างๆ ได้ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกัน และทดสอบอย่างละเอียดครั้งภายใต้สภาวะที่เสมือนอยู่ในอวกาศก่อนที่มัน จะถูกปล่อยขึ้นไปในวงโคจร ดาวเทียมจำนวนไม่น้อยที่ต้องนำมาปรับปรุงอีกเล็กน้อย ก่อนที่พวกมันจะสามารถทำงานได้ เพราะว่าหากปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรแล้ว เราจะไม่สามารถปรับปรุงอะไรได้ และดาวเทียมต้องทำงานอีกเป็นระยะเวลานาน ดาวเทียมส่วนมากจะถูกนำขึ้นไปพร้อมกันกับจรวด ซึ่งตัวจรวดจะตกลงสู่มหาสมุทรหลังจากที่เชื้อเพลิงหมด

วงโคจรของดาวเทียม

วงโคจรดาวเทียม (Satellite Orbit) เมื่อแบ่งตามระยะความสูง (Altitude) จากพื้นโลกแบ่งเป็น 3 ระยะคือ

วงโคจรต่ำของโลก (Low Earth Orbit : LEO) คือระยะสูงจากพื้นโลกไม่เกิน 2,000 กม. ใช้ในการสังเกตการณ์ สำรวจสภาวะแวดล้อม, ถ่ายภาพ ไม่สามารถใช้งานครอบคลุมบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้ตลอดเวลา เพราะมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูง แต่จะสามารถบันทึกภาพคลุมพื้นที่ตามเส้นทางวงโคจรที่ผ่านไป ตามที่สถานีภาคพื้นดินจะกำหนดเส้นทางโคจรอยู่ในแนวขั้วโลก (Polar Orbit) ดาวเทียมวงโคจรระยะต่ำขนาดใหญ่บางดวงสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเวลาค่ำ หรือก่อนสว่าง เพราะดาวเทียมจะสว่างเป็นจุดเล็ก ๆ เคลื่อนที่ผ่านในแนวนอนอย่างรวดเร็ว

วงโคจรระยะปานกลาง (Medium Earth Orbit "MEO")

อยู่ที่ระยะความสูงตั้งแต่ 1,000 กม. ขึ้นไป ส่วนใหญ่ใช้ในด้านอุตุนิยมวิทยา และสามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารเฉพาะพื้นที่ได้ แต่หากจะติดต่อให้ครอบคลุมทั่วโลกจะต้องใช้ดาวเทียมหลายดวงในการส่งผ่าน

วงโคจรประจำที่ (Geostationary Earth Orbit "GEO")

เป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเป็นส่วนใหญ่ อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,780 กม. เส้นทางโคจรอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร (Equatorial Orbit) ดาวเทียมจะหมุนรอบโลกด้วยความเร็วเชิงมุมเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเองทำให้ดู เหมือนลอยนิ่งอยู่เหนือ จุดจุดหนึ่งบนโลกตลอดเวลา (เรียกทั่ว ๆ ไปว่า "ดาวเทียมค้างฟ้า")

ดาวเทียมจะอยู่กับที่เมื่อเทียบกับโลกมีวงโคจรอยู่ในระนาบเดียวกันกับ เส้นศูนย์สูตร อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,786 กม. วงโคจรพิเศษนี้เรียกว่าวงโคจรค้างฟ้าหรือ วงโคจรคลาร์ก” (Clarke Belt) เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก ผู้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวงโคจรนี้ เมื่อ เดือนตุลาคม ค.ศ. 1945

วงโคจรคลาร์ก เป็นวงโคจรในระนาบเส้นศูนย์สูตร (EQUATOR) ที่มีความสูงเป็นระยะที่ทำให้ดาวเทียมที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเชิงมุมเท่า กันกับการหมุนของโลก แล้วทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางมีค่าพอดีกับค่าแรงดึงดูดของโลกพอดี เป็นผลให้ดาวเทียมดูเหมือนคงอยู่กับที่ ณ ระดับความสูงนี้ ดาวเทียมค้างฟ้าส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศและภายในประเทศ เช่น ดาวเทียมอนุกรม อินเทลแซต ๆลๆ

ประเภทของดาวเทียม

1. ดาวเทียมสื่อสาร

2. ดาวเทียมสำรวจ เป็นการใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของโลก เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการถ่ายภาพ และโทรคมนาคม โดยการทำงานของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรจะใช้หลักการ สำรวจข้อมูลจากระยะไกล

3. ดาวเทียมพยากรณ์อากาศ

4. ดาวเทียมทางการทหาร

5. ดาวเทียมด้านวิทยาศาสตร์

รายชื่อดาวเทียมตามการใช้งาน

1. ดาวเทียมที่ใช้ในการสื่อสารแบบจุดต่อจุด เช่น PALAPA THAICOM

2. ดาวเทียมสื่อสารระหว่างดาวเทียม เช่น TDRS''''

3. ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเคลื่อนที่บนบก ในน้ำ และในอากาศ เช่น INMASAT

4. ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรศัพท์ เช่น ASTRA

5. ดาวเทียมเพื่อการสำรวจโลก สำรวจทรัพย์ยากรธรรมชาติ เช่น LANDSAT

6. ดาวเทียมเพื่อการสำรวจอวกาศ เช่น METEOR EXPLORER

7. ดาวเทียมเพื่อการพยากรณ์อากาศ เช่น GMS NOAA 6-9

8. ดาวเทียมเพื่อการปฏิบัติในห้วงอวกาศ เช่น SPAS SKYLAB

9. ดาวเทียมเพื่อกิจการวิทยุสมัครเล่น เช่น JAS-1 JAS-2 AO-40

10. ดาวเทียมเพื่อการกำหนดตำแหน่ง เช่น NAVSTAR

11. ดาวเทียมเพื่อการนำร่องเรือ และ อากาศยาน เช่น TRANSIT COSMOS

ดาวเทียมของประเทศไทย

ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของประเทศไทยมีชื่อว่า "ดาวเทียมไทยคม1" และดาวเทียม "ไทยคม 2" ในเวลาต่อมา นอกจากนั้นยังมีดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่ชื่อว่า "ดาวเทียมธีออส" ด้วย


ยานอวกาศ คือพาหนะหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ทำงานในอวกาศเหนือ ผิวโลก ยานอวกาศนี้อาจเป็นได้ทั้งแบบมีคนบังคับหรือแบบไม่มีคนบังคับก็ได้ สำหรับภารกิจของยานอวกาศนี้จะมีทั้ง การสื่อสารทั่วไป, การสำรวจโลก, การทำเส้นทาง เป็นต้น บางทีคำว่ายานอวกาศนี้ยังใช้เรียกอธิบาย ดาวเทียม ได้ด้วยเช่นกัน

ภาพรวม

ระบบการทำงานของยานอวกาศประกอบไปด้วยระบบย่อยต่างๆมากมาย เช่นระบบกำหนดและควบคุมตัวยาน (Attitude Determination and Control: ADAC หรือ ACS), ระบบควบคุมการนำร่องและนำทาง (Guidance,Navigation and Control: GNC หรือ GN&C), ระบบการสื่อสาร (Communication: COMS), ระบบจัดการข้อมูลและคำสั่ง (Command and Data Handling: CDH หรือ C&DH), ระบบพลังงาน (EPS), ระบบควบคุมอุณหภูมิ (Thermal Control: TCS), ระบบการขับเคลื่อน (Propulsion), โครงสร้างและระบบบรรทุกสิ่งของ (Payload)

ถ้าหากว่าเป็นยานอวกาศประเภทใช้คนบังคับแล้วอาจจะต้องเพิ่มปัจจัยยังชีพต่างๆให้กับลูกเรือด้วย

ระบบย่อยต่างๆของยานอวกาศ

ระบบกำหนดและควบคุมตัวยาน

ยานอวกาศต้องการระบบนี้เพื่อให้ทำงานในอวกาศได้โดยเกี่ยวข้องและตอบสนอง กับปัจจัยภายนอกยาน ระบบนี้ประกอบไปด้วย เซ็นเซอร์ และตัวบังคับ ซึ่งทำงานร่วมกันโดยใช้โปรแกรมควบคุมอีกทีหนึ่ง ระบบกำหนดและควบคุมหลักๆ ใช้เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์การทำงานทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม เช่น แผงรับแสงอาทิตย์จะหันไปทางดวงอาทิตย์อัตโนมัติ หรือ การหันหน้าไปทางโลกเมื่อมีการทำงานเกี่ยวกับการสื่อสาร เป็นต้น

ระบบควบคุมการนำร่องและนำทาง

การนำร่อง หมายถึง การคำนวณค่าจากชุดคำสั่งเพื่อใช้นำยานอวกาศไปยังที่ที่ต้องการ ส่วนการนำทาง หมายถึง การกำหนดจุดตำแหน่งที่ที่ยานอวกาศจะเดินทางไป โดยทั้งสองปัจจัยนี้จะถูกควบคุมอีกทีหนึ่งจากระบบเพื่อใช้เส้นทางที่เหมาะสม และตรงกับความต้องการของภารกิจมากที่สุด

ระบบการสื่อสาร

ระบบนี้เป็นส่วนที่เชื่อมต่อการสื่อสารข้อมูลต่างๆระหว่างยานอวกาศ กับพื้นโลก หรือระหว่างยานอวกาศกับยานอวกาศด้วยกันเอง

ระบบจัดการข้อมูลและคำสั่ง

คำสั่งต่างๆ ที่ได้รับมาจากระบบการสื่อสารจะถูกนำมาที่ระบบนี้ เพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้อง, แปลความหมายของคำสั่ง และส่งคำสั่งเหล่านี้ไปยังระบบย่อยอื่นๆของยานอวกาศ ระบบนี้ยังใช้รวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่ได้จากระบบย่อยอื่นๆของยานอวกาศ ส่งกลับไปยังพื้นโลกผ่านทางระบบการสื่อสารอีกด้วย ส่วนหน้าที่อื่นๆ ของระบบนี้ เช่น คอยตรวจสอบดูแลสถานะของยานอวกาศ

ระบบพลังงาน

การขับเคลื่อนตัวยานอวกาศจะเริ่มใช้พลังงานตั้งแต่ออกตัวจากพื้นโลก สู่ชั้นบรรยากาศ จนถึงการทำงานนอกโลก โดยระบบนี้มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลระดับพลังงานให้เป็นไปอย่างเหมาะสมที่ สุด และนำพลังงานบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ด้วย (reusable)

ระบบควบคุมอุณหภูมิ

ปกติแล้วยานอวกาศจะต้องมีการปรับแต่งให้สามารถคงอยู่ในสภาวะต่างๆได้เป็น อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลก หรือในอวกาศก็ตาม ยานอวกาศนี้ยังต้องทำงานในสภาวะสุญญากาศซะเป็นส่วนมากและต้องเผชิญกับ อุณหภูมิหลายระดับขึ้นอยู่กับภารกิจ ซึ่งอาจจะเป็นการสำรวจพื้นผิวของดาวเคราะห์อื่นๆ ดังนั้น ระบบนี้จึงมีความจำเป็นต่อยานอวกาศมากที่จะคอยดูแลสภาวะอุณหภูมิของยานให้ เป็นไปอย่างปกติตลอดการดำเนินงาน


ยานอวกาศอาจจะมีหรือไม่มีระบบการขับเคลื่อนนี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับ
เชื้อเพลิง, ถังเก็บเชื้อเพลิง ฯลฯ

โครงสร้าง

สำหรับโครงสร้างของยานอวกาศนี้จะต้องมีการปรับแต่งให้คงทนต่อการบรรทุก ของต่างๆ รวมถึงเครื่องมือของระบบต่างๆด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับภารกิจของยานอวกาศเองว่าจะกำหนดโครงสร้างอย่างไร

ระบบบรรทุก

การบรรทุกอุปกรณ์สิ่งของต่างๆ นี้ก็ขึ้นอยู่กับภารกิจของยานอวกาศ โดยปกติแล้วยานจะบรรทุกพวก เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ (กล้อง, กล้องดูดาว หรือ เครื่องมือตรวจจับ), คลังสินค้า หรือมนุษย์อวกาศ


สถานีอวกาศ (อังกฤษ: Space station) คือสิ่งก่อสร้างที่ออกแบบโดยมนุษย์ เพื่อใช้เป็นที่อยู่การดำรงชีพในอวกาศ โดยอยู่ในวงโคจรต่ำ (LEO)

ประเภทของสถานีอวกาศ

Monolithic

ไม่ต้องประกอบ

แบบโมดูล

ลำเลียงชิ้นส่วนขึ้นไปประกอบในอวกาศ ตัวอย่างเช่น สถานีอวกาศเมียร์ สถานีอวกาศนานาชาติ

รายชื่อสถานีอวกาศ

สถานีอวกาศ

รูปภาพ

ปล่อยออกสู่วงโคจร

กลับสู่บรรยากาศ

จำนวนวันที่ใช้งาน

ลูกเรือ
และผู้ใช้งาน

การมาเยือน

น้ำหนัก
(กิโลกรัม)

จำนวนวันที่โคจร

จำนวนวันที่มนุษย์อยู่

มีมนุษย์

ไม่มีมนุษย์

ซัลยุท 1

สถานีอวกาศซัลยุท 1

19 เมษายน 2514
01:40:00 UTC

11 ตุลาคม 2514

175

24

3

2

0

18,425

สกายแลป

สถานีอวกาศสกายแล็บ

14 พฤษภาคม 2516
17:30:00 UTC

11 กรกฎาคม 2522
16:37:00 UTC

2,249

171

9

3

0

77,088

ซัลยุท 3

สถานีอวกาศซัลยุท 3

25 มิถุนายน 2517
22:38:00 UTC

24 มกราคม 2518

213

15

2

1

0

18,500

ซัลยุท 4

สถานีอวกาศซัลยุท 4

26 ธันวาคม 2517
04:15:00 UTC

3 กุมภาพันธ์ 2520

770

92

4

2

1

18,500

ซัลยุท 5

สถานีอวกาศซัลยุท 5

22 มิถุนายน 2519
18:04:00 UTC

8 สิงหาคม 2520

412

67

4

2

0

19,000

ซัลยุท 6

ไม่มีภาพ

29 กันยายน 2520
06:50:00 UTC

29 กรกฎาคม 2525

1,764

683

33

16

14

19,000

ซัลยุท 7

ไม่มีภาพ

19 เมษายน 2525
19:45:00 UTC

7 กุมภาพันธ์ 2534

3,216

816

26

12

15

19,000

มียร์

สถานีอวกาศมีร์

19 กุมภาพันธ์ 2529
21:28:23 UTC

23 มีนาคม 2544
05:50:00 UTC

5,511

4,594

137

39

68

124,340

ISS

สถานีอวกาศนานาชาติ

20 พฤศจิกายน 2541

กำลังอยู่ในวงโคจร
คาดการณ์ (2554)

3,429

2,753

158

41

32

286,876

หมายเหตุ: UTC คือ เวลาสากลเชิงพิกัด

ดาวเทียมที่นักเรียนควรรู้จัก


สปุตนิก 1 (ภาษารัสเซีย: Спутник-1 ,IPA: [ˈsputnʲɪk] , ภาษาอังกฤษ: Sputnik 1) เป็นดาวเทียมดวงแรกของโลก และเป็นยานอวกาศลำแรกในโครงการสปุตนิก ดำเนินการโดยสหภาพโซเวียต (รัสเซียขณะนั้น)


ดาวเทียมเอกซ์พลอเรอร์ 1 (Explorer 1) เป็นดาวเทียมของสหรัฐอเมริกาดวงแรก ขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศ และค้นพบแถบกัมมันตรังสีแวน อัลเลน (Van Allen Radiation Belt)

หลัง จากที่เป็นฝ่ายไล่ตามสหภาพโซเวียต ในการแข่งขันพิชิตอวกาศ สหรัฐอเมริกาก็ประสบความสำเร็จ ส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้เป็นครั้งแรกกับดาวเทียมเอกซ์พลอเรอร์ 1

ดาวเทียม เอกซ์พลอเรอร์ 1 มีน้ำหนัก 14 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ วันที่ 31 มกราคม ค.ศ.1958 และก็ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีเยี่ยม ทำให้มีการค้นพบแถบกัมมันตรังสี แวน อัลเลน (Van Allen Radiation Belt) รอบโลก ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ และการทำงานของดาวเทียมวิทยาศาสตร์หรือดาวเทียมสำรวจต่างๆ


ซาน มาร์โค 1
First Italian Satellite - ดาวเทียมดวงแรกของอิตาลี

ดาวเทียมดวงแรกของอิตาลี ซึ่งเป็นผลงานการร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิตาลี


อินเทลแซท 1 (Intelsat 1) หรือ เออลีเบิร์ด (Early Bird)
First Commercial Telecommunication Satellite - ดาวเทียมโทรคมนาคมเชิงพาณิชย์ดวงแรกของโลก

ดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ดวงแรกของโลก


จีออส (GEOS)
First US Geodetic Earth Orbiting Satellite - ดาวเทียม Geodetic ดวงแรกของอเมริกา


ลองมาร์ช 1 (Long March 1)
First Chinese Satellite - ดาวเทียมดวงแรกของจีน

ดาวเทียมดวงแรกของจีน ส่งโดยจรวด Changzheng-1 (CZ-1 หรือ Long March-1) จากฐานยิงใกล้ Lop Nor วัตถุประสงค์หลักของดาวเทียม คือการกระจายเสียงเพลง Dong Fang Hong (มีความหมายว่า "บูรพาแดง" หรือ "The East is Red") เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านประธานเหมาฯ

ดาวเทียมมีน้ำหนัก 173 กิโลกรัม หยุดทำงานเมื่อเดือนมิถุนายน 1970


ไพโอเนียร์ 10 (Pioneer 10)
First Spacecraft to Encounter Jupiter - ดาวเทียมดวงแรกที่เดินทางไปถึงดาวพฤหัสบดี
First Spacecraft to Study Saturn - ดาวเทียมดวงแรกที่เดินทางไปถึงดาวเสาร์
First Spacecraft to Travel Through the Asteroid Belt - ดาวเทียมดวงแรกที่เดินทางผ่านวงแหวนอุกาบาต
First Spacecraft to Leave the Solar System - ดาวเทียมดวงแรกที่เดินทางออกนอกระบบสุริยจักรวาล

ไพโอเนียร์ 10 มีน้ำหนัก 258 กก. ถูกส่งจากแหลมคานาเวอรัล เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 1972 โดยมีแผ่นโลหะสลักรูปมนุษย์ และตำแหน่งของอาทิตย์ถูกส่งไปกับยานด้วย

ไพโอเนียร์ 10 (หรือ ไพโอเนียร์ เอฟ) เป็นยานอวกาศลำแรกของโลก ที่เดินทางผ่านวงแหวนอุกาบาต (อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี) เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 1972 และได้ทำการสำรวจและถ่ายภาพดาวพฤหัสบดีส่งกลับมายังโลก เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 1973 ยานฯ ยังได้บันทึกภาพของดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี และวัดสนามแม่เหล็กและรังสีจากดาวพฤหัสบดีด้วย

ยานฯ เดินทางผ่านดาวพฤหัสบดีใกล้ที่สุดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 1973 ที่ระยะ 130,000 กม.

ยานฯ เดินทางผ่านดาวเสาร์และศึกษารายละเอียดของดาวเสาร์ ในปี 1979

ยานฯ เดินทางผ่านวงโคจรของดาวเนปจูน เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 1983

ปัจจุบัน ยานไพโอเนียร์ 10 อยู่ระหว่างการเดินทางไปยังทิศทางของดาว อัลเดอบารัน (Aldebaran) ในกลุ่มดาว ทอรัส (Taurus) ซึ่งขณะนี้ ยานยังเดินทางไปไม่ถึง Oort cloud หรือ Heliopause เลย


อีอาร์ทีเอส 1 (ERTS-1)
First Remote Sensing Satellite - ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของโลก

ดาวเทียมอีอาร์ทีเอส 1 ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 1972 ณ ความสูง 900 กม. คำว่า ERTS ย่อมาจาก Earh Resources Techonolgy Satellte ภายหลังมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แลนด์แซท 1 (Landsat 1)

แลนด์แซท 1 บันทึกภาพในย่านสีเขียว, แดง, และ อินฟราเรด อีก 2 แบนด์ มีรายละเอียดภาพ 80 เมตร


อารยาบาทา (Aryabhata)
First Indian Experimental Satellite - ดาวเทียมดวงแรกของอินเดีย

ดาวเทียมมีน้ำหนัก 360 กก. อยู่ในวงโคจร 619 x 562 กม. ที่มุมเอียง 50.7 องศา ส่งขึ้นด้วยจรวด Intercosmos ของรัสเซีย เมื่อวันที่ 19 เมษายน 1975


มาจิออน (Magion)
First Czechoslovakian Satellite - ดาวเทียมดวงแรกของเชคโกสโลวาเกีย

ดาวเทียมดวงแรกของเชคโกสโลวาเกีย (Czechoslovakia) ส่งโดยจรวดของรัสเซีย


แมคแซท (MACSAT)

ดาวเทียมสื่อสาร ที่ NASA ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจร โดยจรวด Scot G จากฐาน Vandenberg Air Force ลอส แองเจลีส อเมริกา


ดาวเทียมธีออส (THEOS : Thailand Earth Observation Satellite) เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส ดำเนินงานโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ. หรือ GISTDA) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ บริษัท อี เอ ดี เอส แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยงบประมาณ 6,000 ล้านบาท นับเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ยานอวกาศที่นักเรียนควรรู้จัก


วอสตอก 1 ยานอวกาศที่ส่งขึ้นไป โดยมีมนุษย์อวกาศคนแรกเดินทางไปด้วย

วอสตอก 6 ยานอวกาศที่ส่งขึ้นไป โดยมีมนุษย์อวกาศหญิงคนแรกเดินทางไปด้วย


อะพอลโล 11 ยานอวกาศที่ส่งขึ้นไปจอดบนดวงจันทร์ โดยมีมนุษย์อวกาศ 3 คน เดินทางไปด้วย


วอยเอเจอร์ 1, วอยเอเจอร์ 2 ยานอวกาศที่ไปสำรวจดาวเคราะห์ที่อยู่รอบนอกระบบสุริยะ ของสหรัฐอเมริกา

มาร์ส พาธไฟน์เดอร์ ยานอวกาศที่ไปสำรวจดาวอังคาร ของสหรัฐอเมริกา


แคสสินี ยานอวกาศที่ องค์การนาซา องค์การอวกาศยุโรป และองค์องค์อิตาลี ได้ร่วมมือกันสร้าง มีภารกิจคือไปสำรวจดาวเสาร์


สตาร์ดัส ถูกส่งเดินทางไปสำรวจดาวหางวิลด์ 2 เพื่อถ่ายภาพดาวหางและฝ่าเข้าไปบริเวณหางเพื่อใช้เครื่องดักจับฝุ่นธุลีจากส่วนหาง

ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ

ปัจจุบันสิ่งประดิษฐ์ที่อาศัยความรู้ทางด้านเทคโนโลยีอวกาศมีมากมาย หลายชิ้น โดยเฉพาะการสร้างดาวเทียมประเภทต่าง ๆ ขึ้นมาช่วยอำนวยประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน ที่สำคัญ ได้แก่

การสื่อสาร

ดาวเทียมสื่อสาร เป็นดาวเทียมที่ทำหน้าที่เป็นสถานีรับส่งคลื่น วิทยุเพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคม ทั้งที่เป็นการสื่อสารภายในประเทศและ ระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่ใช้สำรับกิจการโทรศัพท์ โทรเลข โทรสาร รวมทั้ง การถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์และสัญญาณวิทยุ

การพยากรณ์อากาศ

ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ทำหน้าที่ส่งสัญญาณภาพถ่ายทางอากาศที่ ประกอบด้วยข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา เช่น จำนวนและชนิดของเมฆ ความแปรปรวน ของอากาศ ความเร็วลม ความชื้น อุณหภูมิ ทำให้สามารถเตือนภัยที่เกิดจาก ธรรมชาติต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะการเกิดลาพายุ

การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ

ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เป็นดาวเทียมที่ถูกใช้เป็นสถานี เคลื่อนที่สำรวจดูพื้นที่ผิวโลกและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ทราบข้อมูลทั้งทางด้านธรณีวิทยา นิเวศวิทยา เป็น ประโยชน์ด้านการเกษตรและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

เอกสารอ้างอิง

- หนังสือชุด แม่บทมาตรฐาน หลักสูตรแกนกลางฯ วิทยาศาสตร์ ป.6 โดย เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ

- หนังสือชุดการ์ตูนวิทยาศาสตร์แสนสนุกช่วยให้เด็กฉลาด: เอาชีวิตรอดในอวกาศ เล่ม 1

- http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/06/star/technology1.html

- http://th.wikipedia.org/wiki/ไลก้า_(สุนัข)

- http://th.wikipedia.org/wiki/ยูริ_กาการิน

- http://th.wikipedia.org/wiki/วาเลนตีนา_เตเรชโควา

- http://th.wikipedia.org/wiki/นีล_อาร์มสตรอง

- http://th.wikipedia.org/wiki/แฮม_(ชิมแปนซี)

- http://th.wikipedia.org/wiki/จอห์น_เกล็นน์

- http://en.wikipedia.org/wiki/Edward_Higgins_White

- https://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=71079

- https://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=62647

- http://th.wikipedia.org/wiki/จรวด

- http://www.aksorn.com/lib/default.php?topicid=507

- http://th.wikipedia.org/wiki/อเล็กซี_ลีโอนอฟ

- http://www.electron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=1234&Itemid=14

- http://th.wikipedia.org/wiki/ดาวเทียม

- http://th.wikipedia.org/wiki/ยานอวกาศ

- http://th.wikipedia.org/wiki/สถานีอวกาศ

- http://th.wikipedia.org/wiki/ดาวเทียมธีออส

- http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/06/star/technology4.html