วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อะไรคือ "แตงโม" !??

แตงโม หวานฉ่ำ ชื่นใจ เจี๊ยบๆ
สวัสดีครับ ตัวหนังสือเป็นบ้าอีกแล้ว พอดีเมื่อวานได้กินแตงโมจึงขอเสนอแตงโม! (ถึงทุกคนจะรู้อยู่แล้ว)
แตงโม ชื่อวิทยาศาสตร์: Citrullus lanatus (คำราชาศัพท์ของแตงโมคือ อุลิด) เป็นผลไม้ที่มีน้ำประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นพืชล้มลุกเป็นเถา อายุสั้น เถาจะเลื้อยไปตามพื้นดิน ถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลทรายคาลาฮารี ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานเมื่อสี่พันปีมาแล้ว ชาวจีนเริ่มปลูกแตงโมที่ซินเกียงสมัยราชวงศ์ถัง แตงโมต้องการดินที่มีความชุ่มชื้นพอเหมาะ น้ำไม่ขัง มักปลูกกันในดินร่วนปนทราย ในประเทศไทยมีการปลูกแตงโมทั่วทุกภูมิภาค และปลูกได้ทุกฤดู
เพราะว่าปลูกได้ทุกฤดู จึงได้เห็นทุกวันแน่นอน ว้าว! น้ำลายสอ >.<" จำง่ายๆ หวาน อร่อย ชุ่มฉ่ำ จบ . . สวัสดีครับ

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

English Present Simple Tense

English Present Simple Tense


สวัสดีครับ ทีนี้ผมก็ทำวิชาได้ 4 วิชาแล้ว ยังขาด คณิตศาสตร์ อยู่เลย ไว้คราวหน้านะครับ วันนี้ขอนำเสนอ ภาษาอังกฤษ Present Simple Tense ครับ

โครงสร้าง Present Simple Tense

ประธาน + กริยาช่อง 1 (Present Simple)

ประธาน ของภาษาอังกฤษ มีหลายอย่างเหมือน ภาษาไทย ครับ หลักๆก็มี แบบ เอกพจน์ และ พหูพจน์

ประธานเอกพจน์ มี He , She , It , a boy , a girl , a dog ฯลฯ

ประธานพหูพจน์ มี I , You , We , They , Boys , Girls , Dogs ฯลฯ


Positive Singular (ประโยคบอกเล่าโดยใช้ประธานเอกพจน์)

โครงสร้างประโยคเหมือนกับโครงสร้างปกติของ Present Simple Tense
ยกตัวอย่าง เช่น He drinks. เขาผู้ชายดื่มน้ำ

ข้อควรสังเกต กริยาที่ใช้กับเอกพจน์ต้องเติม s

วิธีการเติม s

1. ตัวสะกดหลังคำกริยาเป็น o , x , sh , ch , z , s , ss ไม่ควรเติม s แต่ให้เติม es แทน
2. ตัวสะกดหลังคำกริยาเป็น y ให้เปลี่ยนจาก y เป็น i แล้วเติม es
3. ตัวสะกดหลังคำกริยาเป็น y แล้วมีสระ ( a , e , i , o , u ) นำหน้าอยู่ ให้เติม s ได้เลย
4. กริยาที่ไม่เป็นแบบ ข้อที่ 1 , 2 , 3 ให้เติม s ได้เลย

Negative Singular
(ประโยคปฏิเสธโดยใช้ประธานเอกพจน์)

โครงสร้างประโยค คือ ประธาน + Verb to Do +
not + กริยาช่อง 1 (Present Simple)
ยกตัวอย่าง เช่น She does not play. เขาผู้หญิงไม่เล่น

วิธีการใช้ Verb to Do (Do , Does)

1. Verb to Do ที่ใช้กับประธานเอกพจน์ ต้องใช้ does
2. Verb to Do ที่ใช้กับประธานพหูพจน์ ต้องใช้ do

Interrogative Singular (ประโยคคำถามโดยใช้ประธานเอกพจน์)

โครงสร้างของประโยค คือ Verb to Do + ประธาน + กริยาช่อง 1 (Present Simple) + ? (Question Mark)
ยกตัวอย่าง เช่น Does a boy run? เด็กผู้ชายวิ่งหรือไม่

Positive Plural (ประโยคบอกเล่าโดยใช้ประธานพหูพจน์)

โครงสร้างประโยค เหมือนกับโครงสร้างปกติของ Present Simple Tense
ยกตัวอย่าง เช่น They drinks. พวกเขาดื่มน้ำ

ข้อควรสังเกต กริยาที่ใช้กับพหูพจน์ต้องไม่ต้องเติม s

Negative Plural (ประโยคปฏิเสธโดยใช้ประธานพหูพจน์)

โครงสร้างประโยค คือ ประธาน + Verb to Do +
not + กริยาช่อง 1 (Present Simple)
ยกตัวอย่าง เช่น We do not play. พวกเราไม่เล่น

Interrogative Plural (ประโยคคำถามโดยใช้ประธานพหูพจน์)

โครงสร้างของประโยค คือ Verb to Do + ประธาน + กริยาช่อง 1 (Present Simple) + ? (Question Mark)
ยกตัวอย่าง เช่น Do you run? เธอวิ่งหรือไม่

โอ้! ที่จริงยังขาดอีกหลาย ประโยค Tense แน่ะ งั้นไว้คราวหน้านะครับ สวัสดีครับ

Good Bye. See you again next time.


วิทย์รุ่นใหญ่ฉบับยักษ์ บทที่ ๑ "อาณาจักรแห่งสิ่งมีชีวิต"

วิทย์รุ่นใหญ่ฉบับยักษ์ บทที่ ๑ "อาณาจักรแห่งสิ่งมีชีวิต"
สวัสดีครับทุกท่าน คงรู้แล้วใช่ไหมครับว่า Blogger นี้มีโครงการบทความ "วิชาความรู้" อยู่ 2 วิชา คือ สังคม และ ไทย
คราวนี้เพิ่มความมันส์การอ่านอีกโดยเพิ่มอีก 1 วิชา !!!!! วิชา วิทยาศาสตร์ ครับ >0<" บทที่ 1 ของวิทย์ ขอเสนอแบบยากๆนะครับ แต่ว่าบทนี้มันน่าสนุกเลยมานำเสนอเด้อ . . แต่คราวหน้าค่อยเอาอันง่ายๆมาเสนอนะครับ

"อาณาจักรแห่งสิ่งมีชีวิต" คืออะไร
คือ การแบ่งกลุ่มสิ่งมีชีวิตโดยใช้ชนิดของสิ่งมีชีวิตเป็นหลัก

"อาณาจักรแห่งสิ่งมีชีวิต" มีอะไรบ้าง
มีอยู่ 6 อาณาจักร ได้แก่
1. อาณาจักร โมเนลลา = พวกแบคทีเรีย และ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
2. อาณาจักร โพรทิสตา = สาหร่ายชนิดต่างๆ , ราเมือก และ โพรโตซัว
3. อาณาจักร ฟังไจ = พวกเห็ด และ รา
4. อาณาจักร เมทาไฟทา (แพลนเท) = พืชที่มีท่อลำเลียง และ พืชที่ไม่มีท่อลำเลียง
5. อาณาจักร อนิมาเลีย = มนุษย์ และ สัตว์ต่างๆ
6. อาณาจักร ไวรา = พวกไวรัสต่างๆ (มีนักชีววิทยา และ นักวิทยาศาสตร์บางคน กล่าวว่า อาณาจักร ไวรา ไม่นับเป็น "อาณาจักรแห่งสิ่งมีชีวิต")

มึนอย่างแรงแต่น่าสนุก งั้นวันนี้พอแล้วนะครับ สวัสดีครับ >0<"

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

History วันละนิด จิตแจ่มใส ๓

Thailand History
สวัสดีครับ ไม่ได้ทำบทที่ 3 ประวัติศาสตร์มานาน ขอเสนอเรื่องนี้ครับ
Thailand History
ประวัติศาสตร์ไทย เริ่มขึ้นตั้งแต่การอพยพย้ายเข้ามาของกลุ่มคนพูดภาษาไท-ลาวจากถิ่นบรรพบุรุษ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนเดิม เข้ามายังดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานอยู่ก่อนแล้ว โดยมีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่าเป็นต้นมา คือ ราว 10,000 ปีที่แล้ว แต่สำหรับรัฐของคนไทยแล้ว ตามตำนานโยนกได้บันทึกว่า การก่อตั้งอาณาจักรของคนไทยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1400การล่มสลายของจักรวรรดิขะแมร์ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทำให้เกิดอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 อาณาจักรสุโขทัยขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์พระเจ้าอู่ทองทรงก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 1893 การเข้าแทรกแซงสุโขทัยอย่างต่อเนื่องทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครองโดยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง การยึดครองมะละกาของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2054 ทำให้อยุธยาเริ่มการติดต่อกับชาติตะวันตก อย่างไรก็ตาม ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อราชวงศ์ตองอูของพม่าเริ่มมีอำนาจมากขึ้น การสงครามอันยาวนานนับตั้งแต่ พ.ศ. 2091 ส่งผลให้อยุธยาตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรตองอูในที่สุด ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงประกาศอิสรภาพในอีก 15 ปีต่อมา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อย่างไรก็ตาม ความสงสัยในตัวของคอนสแตนติน ฟอลคอน ทำให้ถูกสังหารโดยพระเพทราชา อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมอำนาจลงราวพุทธศตวรรษที่ 24 การทำสงครามกับพม่าหลังจากนั้นส่งผลทำให้อยุธยาถูกปล้นสะดมและเผาทำลาย เมื่อปี พ.ศ. 2310 ในที่สุด พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325
การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการเสียดินแดนหลายครั้งให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ แต่อาณาจักรสยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ อันนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา โดยมีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเกิดวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548
ขอให้เป็นสุขเป็นสุขเถิด แต่ขอให้อ่านด้วยนะ คราวหน้านำ วิโอลา มาให้ดู

อ่านภาษาไทย "คำพ้องรูป" กันเถอะ!

คำพ้องรูป
สวัสดีครับ วันนี้อยากนำเสนอเรื่อง
คำพ้องรูปครับ น่าเสียดายจัง ที่จริงทำหัวข้อนี้แบบเต็มอิ่มไว้แล้ว กลับเกิดปัญหา HTML ภาษา ผิดพลาด จึงต้องทำใหม่แบบมีเนื้อหา ครึ่งส่วนของอันที่ทำไว้แล้ว จึงขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
คำพ้องรูป คืออะไร?
คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อ่านไม่เหมือนกันและมีความหมายแตกต่างกัน
ยกตัวอย่าง
สก
อ่านได้
สองแบบ
1.
สกฺ
2.
สะ-กะ
ความหมายของ
สกฺ คือ ผม หรือ สะเด็ดน้ำ
ความหมายของ
สะ-กะ คือ ของตน

อยากนอนแล้ว 555+ อย่าลืมติดตาม ประกาศ บ้างนะครับ สวัสดีครับ

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แม่ . . จากดวงใจ LovE . .

รักแม่จัง โอ้โห! โอ้โห!

สวัสดีครับ เพื่อนๆ ทุกๆคนที่เข้ามาดูหน้านี้
วันนี้จะมานำเสนอวันแม่นะครับ

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
Queen Sirikit.jpg

๑๒ สิงหาคม ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี
ขอให้มีอายุยืนยาวตลอดกาลนาน

วันแม่แห่งชาติไทย

วันแม่แห่งชาติไทยคือวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกๆปี
ดอกไม้ประจำวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งสื่อถึงความหมายว่า มีกลิ่นหอมยาวนานเหมือนความรักที่แม่มีต่อลูกยาวนาน

ประวัติวันแม่

งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน

ต่อมาสมาคม ครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

มาบอกรักแม่กันนะครับ สวัสดีครับ

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

-๐พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และ อื่นๆ๐-

พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
สวัสดีอีกรอบ เมื่อกี๊อัพเดทเรื่อง วันเข้าพรรษา ไปแล้ว มาดูกันว่า พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท คืออะไร?

ความรู้ที่ได้จากหัวข้อนี้
- รู้ความหมายของนิกาย
- รู้เกี่ยวกับประวัติพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท

นิกาย คืออะไร?
นิกาย คือ คำที่ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวช
ในศาสนาเดียวกันที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เป็นต้น

เกี่ยวกับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท

พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า นิกายเถรวาทได้รับการนับถือเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังคลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดน กัมพูชา มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของ ประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายไทย และสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน

สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด

นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (มหายาน)

พุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศไทยยังได้แบ่งเป็นนิกายย่อยอีก 2 นิกาย คือ มหานิกาย และ ธรรมยุตินิกาย

มหานิกาย คืออะไร?

มหานิกาย เป็นคำเรียกนิกาย หรือคณะของพระสงฆ์ไทยสายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่ง เป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นฝ่ายคันถธุระ

. . ว่าแต่ คันถธุระ คืออะไร?

คันถธุระ คือ งานที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้ภิกษุปฏิบัติอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ
คันถธุระ คือ งานเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยการเล่าเรียนพระพุทธพจน์บทใดบทหนึ่งหรือพระไตรปิฎกทั้งหมดตามความสามารถแห่งสติปัญญาของตน แล้วท่องบ่น ทรงจำ สอนกันบอกกันต่อ ๆ ไป เพื่อรักษาพระพุทธพจน์ไว้ รวมถึงการแนะนำสั่งสอน เผยแพร่พระพุทธพจน์แก่บุคคลทั่วไป ตลอดทั้งการจัดทำและการรักษาตำราและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไว้ด้วย

. . ว่าแต่ วิปัสสนาธุระ คืออะไร?

วิปัสสนาธุระ คือ งานที่มุ่งอบรมปัญญาให้เกิดโดยการปล่อยวางภาระทั้งปวง ทำกายใจให้เบา ยินดีในเสนาสนะที่เงียบสงบ พิจารณาถึงความเสื่อมไปสิ้นไปในสังขารร่างกายจนเห็นสามัญลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ชัดเจน เจริญอบรมวิปัสสนาต่อเนื่องไปไม่ขาดสายจนถึงหลักชัยคือคว้าอรหัตผลได้

ธรรมยุตินิกาย คืออะไร?

ธรรมยุตินิกาย หรือ ธรรมยุต เป็นคณะหนึ่งของพระสงฆ์ในประเทศไทย เป็นฝ่าย วิปัสสนาธุระ ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระวชิรญาณเถระ ( เจ้าฟ้ามงกุฏ : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ 4 ) และเมื่อถึงรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ รศ.121” มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

นิกายธรรมยุต ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัติในสิ่ง ที่ถูกต้องดีงาม ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพร่องของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณ ให้สมบูรณ์ทั้งพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นความพยายามของพระวิชรญาณเถระเพื่อช่วยปฏิรูปการคณะสงฆ์และเผยแผ่พระ พุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นในประเทศไทย

การก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เป็นสาเหตุทำให้พระสงฆ์เถรวาทอื่นซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรม ยุติ ถูกพระวชิรญาณเถระเรียกว่า "มหานิกาย" อีกด้วย ซึ่งคำว่ามหานิกายนี้ได้ถูกนำมาใช้เรียกพระสงฆ์สายเถรวาทอื่นที่มิใช่ธรรมยุตินิกายมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมาของ พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท

หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน พระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ 7 เดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท แปลว่า คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ คำว่า เถระ ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิกาย เถรวาท อันหมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี

ถ้าย่อเก่งลองฝึกย่อเพื่อจำดูนะ จบของวันนี้แล้วครับ

"วันแม่" Coming Soon . .

สวัสดีครับ

-๐วันเข้าพรรษา๐-

วันเข้าพรรษา
สวัสดีเพื่อนๆที่น่ารักทุกๆคน ขออภัยอีกรอบที่ห่างหายไปนานอีกแล้ว งานยุ่งมากๆ T^T
งั้นนี้จะมาคุยเรื่องวันเข้าพรรษานะครับ (มันเลยมาตั้งนานแล้วไม่ใช่เรอะ!!)


มาทำความรู้จักกัน
วันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ครับ
-เป็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หรือตามปฏิทินสุริยคติ คือ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ของทุกปี
-พระสงฆ์นิกายเถรวาท จะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่งติดต่อกันเป็นเวลา ๓ เดือน
-สิ้นสุดการพักประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่งในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือ วันออกพรรษา
-ประชาชนชาวไทยจะถวายเทียนพรรษาแด่พระสงฆ์ และ แห่เทียนจำนำพรรษาพร้อมจัดเทศกาล
-
มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่างๆ
-ที่ให้พระสงฆ์ประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เพื่อป้องกันการเหยียบย่ำธัญพืชของชาวนาที่ปลูกไว้
-นอกจากจะเป็นวันเข้าพรรษา ยังเป็น วันงดดื่มสุราแห่งชาติ
-ทางรัฐบาลไทยแต่งตั้ง วันงดดื่มสุราแห่งชาติ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑
ขอให้ทำความดีกันเยอะๆนะครับ ไม่จำเป็นว่าจะทำแค่วันสำคัญ ทำทุกวันดีที่สุด! สวัสดีครับ